พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 09.00-12.00 น.



ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย อาจารย์พูดคุยและให้คำปรึกษาต่างๆ พร้อมทั้งแจกสีเมจิกคนละ 1 ชุด ซึ่งเป็นค่าวัสดุ และอาจารย์ก็แจกรางวัลเด็กดี







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การเรียนวิชานี้ทำให้มีแนวทางในการสอนเด็กเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และยังได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์นำมาสอน ซึ่งสามารถนำไปสอนเด็กได้แลสามารถบูรณาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

ประเมินผล
ประเมินตนเอง มาตรงเวลา และฟังที่อาจารย์พูด
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆคั้งใจฟังที่อาจารย์พูด
ประเมินอาจารย์ อาจารย์พูดคุยอย่างเป็นกันเอง ทำให้บรรยายการเรียนอบอุ่นและมอบรางวัลเด็กดีเพื่อเป็นกำลังใจในการเรียน


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

คิดสร้างสรรค์ผ่านนิทาน

อาจารย์ให้ร้องเพลงและรำ จากนั้นก็กำหนดว่าให้จับกลุ่มกี่คน เป็นการจับกลุ่มแบบหนึ่งและยังได้รับความสนุกสนาน






แต่งนิทานและออกไปแสดง

นิทานเรื่องเจ้าเท้าเพื่อนรัก

ตัวละคร
1. เท้าซ้าย
2. เท้าขวา
3. ก่อนหิน
4. ลูกมด

เนื้อเรื่อง
เท้าซ้ายชวนเท้าขวาไปหาเพื่อนก็คือ ลูกมด แต่เท้าขวาไม่ยอมไปบอกอยากไปเดินเล่นมากกว่า เท้าซ้ายจึงตามใจเท้าขวา เมื่อเดินไปเรื่อยๆเท้าซ้ายก็เดินสะดุดก้อนหิน เท้าขวาก็ต่อว่าเท้าซ้ายที่เดินไม่ระวัง และยังโทษก้อนหินว่าทำไมมาอยู่ตรงนี้ เท้าซ้ายมีอาการบาดเจ็บทำให้เดินต่อไม่ได้ เท้าขวาก็อารมณ์เสียเพราะอยากไปเดินเล่นเร็วๆ ลูกมดเห็นเพื่อนของตนจึงชวนแม่เดินมาหาเพื่อน แลัวจึงสอบถามเรื่องราว แม่มดเลยบอกว่า อยู่ด้วยกันต้องสามัคคีและรักกัน เท้าขวาเลยขอโทษเท้าซ้ายและก้อนหินที่ต่อว่าพวกเขา แล้วเท้าซ้ายกับเท้าขวาก็เข้าใจกันและพร้อมที่จะเดินไปด้วยกันต่อไป






ข้อคิดจากนิทาน
การช่วยเหลือกันและกัน ความสามัคคี


นิทานเรื่องก้อนเมฆเพื่อนรัก



ข้อคิดจากนิทาน
การช่วยเหลือกัน ความสามัคคี


นิทานเรื่องการเดินทางของจักรยาน



ข้อคิดจากนิทาน
ความอดทน การใช้รถใช้ถนน


นิทานเรื่องชาวประมงกับปลา




ข้อคิดจากนิทาน
ความสามัคคี


นิทานเรื่องรองเท้าที่หายไป





ข้อคิดจากนิทาน
การเก็บรักษาของ การมีระเบียบ


รูปแบบการเล่านิทาน
1.ไม่มีการบรรยาย ผู้แสดงพูดเอง
2. มีการบรรยาย ผู้แสดงพูดด้วย
3. มีการบรรยายอย่างเดียว

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การฟังนิทานทำให้เด็กสนุกสนาน นอกจากนั้นเมื่อเด็กได้สมมุติตนเองเป็นตัวละครทำให้เด็กกล้าแสดงออกและได้ใช้จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ นิทานสามารถสอดแทรกสิ่งที่ต้องการสอนเด็กได้ นอกจากนี้การได้คิดเนื้อเรื่องนิทานร่วมกันทำให้ด็กได้แสดงออกทางความคิด รู้จักการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการทำงานร่วมกัน

ประเมินผล
ประเมินตนเอง  มีส่วนร่วมในความคิด และการแสดง รับฟะงความคิดเห็นของเพื่อน
ประเมินเพื่อน ร่วมกันคิดเนื้อเรื่อง และตั้งใจแสดงนิทาน 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม และกระตุ้นเราด้วยคำถาม


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

การคิดสร้างสรรค์บูรณาการผ่านการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

กิกจรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

องค์ประกอบ 4 อย่าง คือ
1. ร่างกาย
2. พื้นที่
3. ระดับ 
4. ทิศทาง

รูปแบบการเคลื่อนไหวมี 2 รูปแบบ คือ
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น สะบัดมือ ย่ำเท้า กระโดดอยู่กับที่ 
2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น เดิน สไลด์เท้า 


วัตถุประสงค์
1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
2. เคลื่อนไหวบรรยาย
3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
5. เคลื่อนไหวแบบขัอตกลง
6. เคลื่อนไหวแบบความจำ

บูรณาการความคิดสร้างสรรค์
  •  เคลื่อนไหวประกอบเพลง  เด็กได้แสดงออกทางท่าทางประกอบเพลง
  • เคลื่อนไหวบรรยาย  ได้จินตนาการตามเรื่องราว และแสดงออกทางท่าทาง
  • เคลื่อนไหวตามคำสั่ง ใช้ความคิดในการเปลี่ยนทิศทาง
  • เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม คิดสร้างสรรค์ท่าทางตามหน่วย
  • เคลื่อนไหวแบบขัอตกลง แสดงออกทางท่าทาง
  • เคลื่อนไหวแบบความจำ  สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวตามคำสั่งและข้อตกลง
เคลื่อนไหวตามคำสั่ง

เคลื่อนไหวพื้นฐาน
-ครูกำหนดสัญญาณ ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง เด็กกระโดด 1 ครั้ง
                                  ครูเคาะ 2 ครั้ง เด็กกระโดด 2 ครั้ง 
                                  ครูเคาะรั่วๆให้เด็กเคลื่อนที่ไปรอบๆ
                                  ครูเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่

-เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
ครูเคาะจังหวะช้าๆให้เด็กเดินและโบกพัดช้าๆ
ครูเคาะจังหวะเร็วๆให้เด็กเดินและโบกพัดเร็วๆ

-ผ่อนคลาย
โดยการนวดผ่อนคลาย เช่น นวดขมับ นวดแขน นวดไหล่ นวดขา





เคลื่อนไหวแบบความจำ




การเคลื่อนไหวประกอบเพลง



การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม




เคลื่อนไหวตามข้อตกลง



เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย




การนำไปประยุกต์ใช้
ความคิดสร้างสรรค์สามารถบูรณาการเข้ากับกิจกรรมได้หลายๆอย่าง โดยอยู่ที่การจัดการสอนของคุณครูว่าเราจะจัดการสอนหรือกิจกรรมอย่างไร เพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือจินตนาการ

ประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรมในกลุ่ม สนใจการสอนของเพื่อนกลุ่มอื่น
ประเมินเพื่อน สอนเคลื่อนไหวได้ดี ตั้งใจในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ อาจารย์แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว และเสนอแนะข้อผิดพลาดในการสอนเพื่อแก้ไขและสอนออกมาให้ดีขึ้น


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ 

ประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้(ที่ปั๊มลูกโป่ง จากขวดปั๊ม)

อุปกรณ์
1. ขวดปั๊ม1 ขวด
2. กระดาษสีสำหรับตกแต่ง
3. กรรไกร






ขั้นตอนการทำ
1. ตัดกระดาษสี สำหรับใช้ในการตกแต่งขวดปั๊ม


2. นำกระดาษสีที่ตัดไว้ มาติดตกแต่งที่ขวดปั๊ม


3. เสร็จสมบูรณ์



วิธีการเล่น
สามารถเล่นใช้ได้ 2 แบบคือ
1. ปั๊มลมเข้าลูกโป่ง ไม่ต้องใส่น้ำที่ขวดปั๊ม
2. ปั๊มน้ำเข้าลูกโป่ง ต้องใส่น้ำที่ขวดปั๊ม
3. โดยนำปากลูกโป่ง รัดที่หัวปั๊ม
4. จับปากลูกโป่งให้แน่น แล้วกดที่หัวปั๊มเพื่อเติมลมหรือเติมน้ำ

ตัวอย่างของเล่น/ของใช้จากวัสดุเหลือใช้
สิ่งประดิษฐ์จากขวดน้ำ

ตราชั่ง

ที่ปั๊มลูกโป่ง

ที่เสียบแปรงสีฟัน

สปิงเกอร์

ที่ใส่หนังสือ

กบเหลาดินสอ

กบเหลาดินสอ


สิ่งประดิษฐ์จากลัง

จักรเย็บผ้า

จักรเย็บผ้า

กระดาน

เก้าอี้
ตู้กดน้ำ


ตู้กดน้ำ

โทรทัศน์

ชั้นวางของ

เคาเตอร์ครัว

สิ่งประดิษฐ์จากกล่อง


เกมฟุตบอล

บ้านตุ๊กตา

กล่องใส่ที่ชาร์ตแบต

การใช้คำถามนำเข้าสู่การประดิษฐ์
-การตั้งประเด็นปัญหา  ถ้าเราต้องการจะเติมลมลูกโป่ง แต่เราไม่มีที่สูบลม เราสามารถใช้อะไรแทนได้บ้าง


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำของเล่นที่เพื่อนนำมา ไปให้เด็กประดิษฐ์และเล่นได้ เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์เป็นของที่หาได้ง่าย และของเล่นบางอย่างก็ง่ายต่อการทำซึ่งเด็กสามารถทำได้ด้ววยตนเอง ทั้งยังส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้

ประเมินผล
ประเมินตนเอง มีความพร้อมในกานำเสนอของเล่น ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อน
ประเมินเพื่อน สร้างสรรค์งานออกมาได้ดี มีความพร้อม
ประเมินอาจารย์ ให้คำแนะนำเพิ่มเติม พร้อมทั้งบอกข้อบกพร่องของของเล่นที่สามารถนำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้นได้